[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Nakigitsune

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.76-77. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

ดาบที่มีชื่อเสียงอีกเล่มที่ตีโดยคุนิโยชิคือ นาคิกิตสึเนะ ซึ่งแปลตรงตัวว่า จิ้งจอกหอน (รูปที่ 1) ดาบเล่มนี้เป็นดาบที่มีค่ายิ่งเนื่องจากมีลายเซ็นที่สมบูรณ์ครบถ้วนของคุนิโยชิ รวมถึงสมญากิตติมศักดิ์ (ซาเฮโนะโจ ดังรูปที่ 2) นอกจากนี้ ดาบเล่มนี้ยังเป็นชิ้นส่วนสำคัญทางประวัติศาสตร์ในการลำดับการพัฒนา “อุจิกาตานะ” อุจิกาตานะเป็นดาบที่สั้นกว่าทาจิ ในช่วงแรกเริ่มที่มีดาบประเภทนี้เกิดขึ้น อุจิกาตานะเป็นดาบที่ทหารชั้นล่างพกพากัน ในขณะที่พวกนักรบชั้นสูงบนหลังม้ายังใช้ธนูเป็นหลักในการต่อสู้ในสนามรบ ส่วนดาบที่ใช้จะยังใช้ดาบทาจิร่วมกับโคชิกาตานะ ซึ่งอย่างหลังเอาไว้ใช้ป้องกันตัวและต่อสู้ในระยะประชิด หรือเมื่อมีเวลาเพียงพอสำหรับการทำเซปปุกุ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Shokudaikiri Mitsutada

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2012). Legends and Stories around the Japanese Sword 2, pp.108-110. Raleigh: Lulu Enterprise, Inc.

ฤดูใบไม้ร่วงปีเคย์โชที่หนึ่ง (1596) ดาเตะ มาซามุเนะได้มอบของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับฮิเดโยชิ นั่นคือเรือโกซาบุเนะขนาด 64m ทาสีแดงสดเคลือบเงาซึ่งช่วยให้ฮิเดโยชิผู้รวมแผ่นดินเดินทางไปกลับจากปราสาทโอซาก้าได้อย่างสะดวกง่ายดายขึ้น วันหนึ่ง หลังจากได้รับของขวัญ ฮิเดโยชิเชิญมาซามุเนะมาที่โอซาก้า ในโอกาสนั้น ฮิเดโยชิประดับกายด้วยดาบในเครื่องทรงสีเงินซึ่งมีด้ามจับสีแดงสด เป็นดาบที่สะดุดตาที่สะท้อนถึงความหรูหราฟู่ฟ่าของยุคโมโมยามะ เมื่อมาซามุเนะเอาแต่มองดาบเล่มนั้น ฮิเดโยชิจึงลุกขึ้นกล่าวว่า “เครื่องทรงนี้สวมให้ดาบที่ตีโดยมิทสึทาดะ* หนึ่งในมิทสึทาดะ 25 เล่มจากตระกูลอุเอสึกิ เจ้าอยากจะชมดูหรือไม่”

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Gokotai Toushirou

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2012). Legends and Stories around the Japanese Sword 2, pp.88-89. Raleigh: Lulu Enterprise, Inc.

*ในหนังสือเรียกมีดสั้นเล่มนี้ว่า โกะโคไต โยชิมิทสึ ซึ่งตามข้อมูลที่ทราบเป็นเล่มเดียวกัน (โยชิมิทสึเป็นชื่อผู้ตี) ดังนั้นบทแปลนี้จึงขอคงชื่อ โกะโคไต โยชิมิทสึเอาไว้ตามหนังสือต้นฉบับค่ะ

ว่ากันว่ามีดสั้นเล่มนี้เคยเป็นของทูตไม่ทราบนามผู้หนึ่งซึ่งถูกส่งไปประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิงตอนต้นยุคมุโรมาจิ ภารกิจของทูตผู้นี้เกี่ยวเนื่องกับการก่อตั้งวัดเท็นริวที่เกียวโต ระหว่างทางไปยังจุดหมาย ทูตและคนของเขาตกอยู่ในวงล้อมของพยัคฆ์ห้าตัว ด้วยความหวาดหวั่น ทูตชักมีดสั้นที่มีออกมาและแกว่งมีดไปมาราวกับคนเสียสติ ทว่าเสือทั้งห้ากลับพากันวิ่งหนีไป

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Nagasone & Hachisuka & Urashima Kotetsu [แปลโดย taiki_taiki]

นางาโซเนะโคเท็ตสึ

“ราตรีนี้โคเท็ตสึช่างคมดีจริง” นี่คือประโยคปิดฉากการสู้รบของ คอนโด อิซามิ ผู้นำแห่งชินเซ็นกุมิผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงบาคุมัตสึ ซึ่งสามารถเปิดโปงแผนการของกลุ่มกบฏคืนอำนาจสู่จักรพรรดิ และทำให้ชื่อเสียงของชินเซ็นกุมิเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจากการปราบกบฏที่อิเคดายะ ซึ่งดาบที่ใช้ในครั้งนั้นคือนางาโซเนะโคเท็ตสึนั่นเอง แต่ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหูว่าดาบเล่มนี้ของคอนโดจะใช่โคเท็ตสึจริงหรือไม่

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Ishikirimaru [แปลโดย taiki_taiki]

แปลจาก: หนังสือ Monogatari de Yomu Nihon no Touken 150

อิชิคิริมารุ

ทางตะวันออกของเทศบาลนครโอซาก้ามีศาลเจ้าอิชิคิริสึรุกิยะซึ่งสักการะดาบ “อิชิคิริมารุ” อยู่ หากจะเล่าถึงประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าแห่งนี้คงต้องย้อนความไปถึงยุคบรรพกาล

เทพเจ้าผู้ปกครองศาลเจ้าอิชิคิริสึรุกิยะ คือเทพเจ้าอุมะชิมะเดะโนะมิโคโตะ ซึ่งเป็นบุตรแห่งเทพเจ้านิกิฮะยะฮิโนะมิโคโตะผู้ปกครองแผ่นดินยามาโตะก่อนจะเกิดปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น หรือจักรพรรดิจิมมุนั่นเอง เทพเจ้านิกิฮะยะฮิโนะมิโคโตะซึ่งเป็นหลานของเทพีอามาเทราสึนั้นได้รับพลังชีวิตมาจากองค์เทพีและลงมายังผืนแผ่นดิน ให้กำเนิดผืนนาและสอนมนุษย์ให้รู้จักวิธีทำนาปลูกข้าว ระหว่างที่เทพเจ้าอุมะชิมะเดะโนะมิโคโตะซึ่งเป็นบุตรของพระองค์เป็นผู้ปกครองผืนดินเหล่านี้ จักรพรรดิจิมมุก็ได้พาทหารบุกเข้ามายังแผ่นดินยามาโตะ ในขณะที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดก็พบว่าต่างฝ่ายต่างก็พกศรซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกัน จึงทำให้ทราบว่าทั้งคู่ต่างก็เป็นหลานขององค์เทพีอามาเทราสึ เทพเจ้าอุมะชิมะเดะโนะมิโคโตะจึงย้ายถิ่นฐานออกจากแผ่นดินยามาโตะ จึงทำให้จักรพรรดิจิมมุสามารถรวบรวมแผ่นดินยามาโตะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และเพื่อแสดงความจริงใจ เทพเจ้าอุมะชิมะเดะโนะมิโคโตะจึงมอบดาบและศรให้เป็นเครื่องสักการะ ซึ่งดาบเล่มนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นดาบขนาดใหญ่ยักษ์ซึ่งสามารถตัดผ่าหินผาของจักรพรรดิจิมมุได้ จึงได้ตั้งชื่อศาลเจ้าซึ่งสักการะของวิเศษทั้งสองว่า “ศาลเจ้าอิชิคิริสึรุกิยะ”

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Heshikiri Hasebe

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.136-139. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

ช่างตีดาบฮาเซเบะ คุนิชิเงะทำงานในช่วงปีเคนมุ (1334-1338) มีพื้นเพเดิมอยู่ที่จังหวัดยามาโตะ แต่ได้ไปคามาคุระเพื่อร่ำเรียนวิชาจากชินโตโก คุนิมิทสึและมาซามุเนะ และได้กลายเป็น “หนึ่งในสิบศิษย์แห่งมาซามุเนะ” จากนั้นจึงมาตั้งถิ่นฐานในอิโนะคุมะที่เกียวโจ ดาบที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานเอกของเขาคือ “เฮชิคิริ ฮาเซเบะ” ดาบที่ครั้งหนึ่งโอดะ โนบุนากะเคยโปรดปรานที่สุด เรื่องเล่ามีอยู่ว่า วันหนึ่ง คันไน เด็กรับใช้ชงชาของโอดะพูดจาลามปามใส่ โนบุนากะโกรธจะฆ่าคันไนทิ้ง คันไนพยายามหนีจนกระทั่งได้ไปหลบอยู่ใต้ตู้ โนบุนากะชักดาบออกและฟันทะลุตู้นั้นโดยไม่แม้แต่จะเงื้อแขน เพียงแต่ใช้น้ำหนัก (เฮชิ) ของดาบเท่านั้น จากนั้นมา ดาบจึงมีชื่อเรียกว่า “เฮชิคิริ ฮาเซเบะ” ซึ่งแปลว่า เครื่องตัดทรงพลังฮาเซเบะ

Continue reading

[Info] ประวัติดาบ: Tenka Goken

เท็งกะโกะเคน หรือห้าสุดยอดดาบแห่งญี่ปุ่น ประกอบด้วยดาบห้าเล่ม ได้แก่ โดจิกิริ ยาสุทสึนะ มิคาสึกิ มุเนะจิกะ โอนิมารุ คุนิทสึนะ จูซูมารุ ทสึเนะทสึกุ และโอเท็นตะ มิทสึโยะ ดาบทั้งห้าได้รับการยกย่องเป็นสุดยอดดาบแห่งญี่ปุ่นในช่วงยุคมุโรมาจิ (1392-1573) โดยสี่ในห้าเล่มของเท็งกะโกะเคน ได้แก่ โดจิกิริ ยาสุทสึนะ มิคาสึกิ มุเนะจิกะ โอนิมารุ คุนิทสึนะ และโอเทนตะ มิทสึโยะ เคยอยู่ที่ตระกูลอะชิคางะมาก่อน

ประวัติโดยสังเขป

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Kogitsunemaru

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.118-123. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

เรื่องต่อไปนี้เป็นเรื่องที่มาจากละครโนะเรื่อง “โคคาจิ” แม้ว่าตำนานอันโด่งดังเกี่ยวกับช่างตีดาบมุเนะจิกะจะเป็นที่รู้จักกันมาหลายศตวรรษ แต่ก็ไม่ปรากฎว่าละครโนะเรื่องนี้ใครเป็นผู้แต่งและถูกแต่งขึ้นในสมัยใด บันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของละครเรื่องนี้ย้อนกลับไปถึงเดือนสอง ปีเทนโชที่หก (1578) จัดทำโดยคอนโกดะยู และแสดงที่อิชิยามะฮงกันจิ (จังหวัดเซทสึ) ซึ่งถูกโอดะ โนบุนากะทำลายไปในสองปีถัดมา แต่สันนิษฐานกันว่าตำนานมุเนะจิกะกับสุนัขจิ้งจอกได้ถูกนำมาแสดงเป็นละครโนะแล้วในยุคมุโรมาจิ ในส่วนของตำนาน เรื่องราวเกิดขึ้นในสมัยจักรพรรดิอิจิโจ (980-1011 ครองราชย์ 986-1011) จักรพรรดิอิจิโจเกิดสุบินประหลาดที่บอกให้ตีดาบเล่มหนึ่งขึ้น วันต่อมาจักรพรรดิจึงส่งทาจิบานะ โนะ มิจินาริเป็นตัวแทนส่งข่าวไปยังโรงตีดาบของมุเนะจิกะซึ่งทางตะวันออกของเกียวโต ที่ถนนใหญ่ตัดขวางสายที่สาม (ซันโจ) มิจินาริลงจากรถเทียมวัวและกล่าวว่า “ท่านคือช่างตีดาบมุเนะจิกะใช่หรือไม่ องค์จักรพรรดิได้เลือกให้ท่านเป็นผู้ตีดาบเล่มหนึ่งให้ ท่านจงเริ่มทำงานเสียบัดนี้เถิด” “ข้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับมอบหมายงานสำคัญเช่นนี้ แต่บัดนี้ข้าหาได้มีผู้ช่วยที่จะตีดาบที่ดีพอสำหรับองค์จักรพรรดิได้” “หากนั่นเป็นเรื่องจริง ท่านก็จงหาผู้ช่วยของท่านเสียสิ!” มิจินาริเอ่ยอย่างเกรี้ยวกราดและจากไป

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Ichigo Hitofuri

Part 1: แปลและเรียบเรียงจาก Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.126-127. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

บางครั้งดาบ “อิจิโกะฮิโตะฟุริ” ก็ถูกเข้าใจผิดมีรายชื่อเป็นหนึ่งในห้าดาบใต้หล้า ซึ่งอันที่จริงเล่มที่ถูกคือโอนิมารุคุนิสึนะ* อิจิโกะฮิโตะฟุริเป็นฝีมือตีของช่างอะวะตะกุจิ โยชิมิทสึ และเจ้าของดั้งเดิมก็คือตระกูลอาซาคุระแห่งจังหวัดเอจิเซ็น เมื่อตระกูลอาซาคุระถูกทำลายลงในระหว่างที่โนบุนากะขึ้นสู่อำนาจในปีเทนโชที่หนึ่ง (1573) ดาบถูกส่งไปที่ตระกูลโมริและต่อมาถูกมอบให้กับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิโดยโมริ เทรุโมโตะ (1553-1625) เนื่องจากฮิเดโยชิค่อนข้างมีรูปร่างเตี้ย จึงได้สั่งให้ลดความยาวของตัวดาบจาก ~85.7 cm เหลือเพียง ~68.8 cm โดยให้ลายเซ็นเดิมยังคงอยู่บนตัวโคนใหม่ของดาบเรียกว่า กาคุเม (ดังรูป) ส่วนชื่อเล่น “อิจิโกะฮิโตะฟุริ” ที่เรียกกันได้มาจากฮิเดโยชิ โดยมีทฤษฎีที่มาสองแขนง เรื่องแรกกล่าวว่าฮิเดโยชิไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ดาบเล่มนี้จึงเรียกดาบนี้ว่า อิจิโกะฮิโตะฟุริ (อิจิโกะ – ในชั่วชีวิตหนึ่ง ฮิโตะฟุริ – หวดดาบครั้งหนึ่ง) อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่าชื่อมาจากที่ดาบเป็นทาจิเพียงเล่มเดียวที่อะวะตะกุจิ โยชิมิทสึผู้โด่งดังในเรื่องการตีมีดสั้นตีขึ้น คำว่า “ฟุริ” เป็นหน่วยนับเล่มดาบของญี่ปุ่น จึงแปลว่า “ดาบเล่มเดียวของชั่วชีวิต”

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Hotarumaru

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.82-83. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

เรื่องเล่ายังคงอยู่ที่ความวุ่นวายในต้นสมัยนันโบคุโจ เดือนสามของปีเคนมุที่สาม (1336) สี่เดือนหลังศึกที่ช่องเขาฮาโกเนะ อะชิคางะ ทาคาอุจิถูกไล่ต้อนไปติดอยู่ที่คิวชูด้วยฝีมือของกองกำลังผสมของนิตตะ โยชิซาดะและคุสุโนคิ มาซาชิเงะหลังจากที่ยกทัพเข้ามายังเกียวโตและได้สูญเสียที่มั่นในเมืองหลวงไปในเวลาอันสั้น กองกำลังพันกว่านายของทาคาอุจิพ่ายให้กับกองกำลังที่เหนือกว่าของพันธมิตรโกะไดโกะที่ตอนท้ายของทาทาระ (อ่าวฮาคาตะ จังหวัดฟุคุโอกะในปัจจุบัน) ที่เดียวกับที่ครั้งหนึ่งพวกมองโกลเคยเดินทางมาถึง กลุ่มพันธมิตรผู้ภักดีต่อจักรพรรดินำโดยทาเคโทคิ (?-1341) น้องชายของคิคุจิ ทาเคชิเงะ (1307-1338) ติดตามมาด้วยอะโซ โคเรสึมิ (1309-1364) แห่งตระกูลอะโซ ตระกูลอะโซ เช่นเดียวกับตระกูลคิคุจิ เป็นตระกูลที่ภักดีต่อจักรพรรดิมาตั้งแต่สมัยก่อน

Continue reading