[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Yamanbagiri Kunihiro

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.105-111. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

หมายเหตุ: ประวัติฉบับนี้ได้เล่าว่า ยามัมบะกิริ คุนิฮิโระเป็นดาบเล่มที่จินซาเอมอนใช้ปราบแม่มดยามัมบะ โดยดาบต้นแบบคือดาบที่ตีโดยโชงิซึ่งเป็นศิษย์ของมาซามุเนะ ซึ่งต่างกับในเกมที่ยามัมบะกิริ คุนิฮิโระกล่าวว่าตัวเองเป็นดาบเลียนแบบดาบยามัมบะกิริอีกที ซึ่งในส่วนของเรื่องเล่าตรงนี้ ทางผู้แปลจะทำการตรวจสอบกับหนังสืออ้างอิงฉบับภาษาญี่ปุ่นอีกทีหนึ่ง

Edit: จากการตรวจสอบข้อมูลจากหนังสือภาษาญี่ปุ่นอีกสองเล่ม คือ 物語で読む日本刀の刀剣150และ Nihontou to Bushi – sono shirarezaru odoroki no jinsei พบว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับการฆ่าแม่มดยามัมบะมีแตกออกเป็นสองแขนง คือ

1. ดาบที่ตีโดยโชงิได้ถูกนำไปใช้ฆ่าแม่มดยามัมบะ จึงได้ชื่อว่ายามัมบะกิริ และยามัมบะกิริ คุนิฮิโระเป็นของเลียนแบบ
2. เรื่องราวเป็นดังประวัติที่ผู้แปลได้แปลว่าด้านล่าง ซึ่งดาบที่ตีโดยโชงิไม่ได้มีชื่อว่ายามัมบะกิริ ส่วนดาบเลียนแบบดาบของโชงิได้นำไปใช้ฆ่าแม่มดยามัมบะ จึงได้ชื่อว่า ยามัมบะกิริ คุนิฮิโระ

ทั้งนี้ เนื่องจากตัวเกมเน้นประวัติที่น่าสนใจของดาบแต่ละเล่ม (เช่นประวัติทสึรุมารุที่ความจริงแล้วเรื่องเหตุการณ์ชิโมทสึกิไม่ตรงกับปีที่อาดาจิตาย) รวมไปถึงข้อมูลที่น่าสนใจในการสร้างคาแรกเตอร์ จึงสันนิษฐานว่าตัวเกมอ้างอิงคาแรกเตอร์ยามัมบะจากข้อมูลในแบบแรก

Yamanbagiri Kunihiro

เรื่องต่อไปนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากช่างตีดาบนามคุนิฮิโระซึ่งในเวลาต่อมาเป็นผู้สถาปนาโรงเรียนตีดาบสายโฮริคาวะที่ประสบความสำเร็จในเขตโฮริคาวะที่เกียวโต และได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งสายดาบ “ชินโต*” หรือ “ดาบใหม่” คุนิฮิโระ หรือชื่อสามัญ ทานากะ คินทาโร่ (1531?-1614) ไม่ได้เป็นเพียงช่างตีดาบแต่ยังเป็นซามูไรรับใช้ตระกูลอิโตซึ่งปกครองมณฑลฮิวงะที่คิวชู หลังจากตระกูลอิโตล่มสลายในปี 1577 คุนิฮิโระออกเดินทางในฐานะช่างตีดาบผ่านหลายจังหวัดในคิวชู จนกระทั่งไปปรากฎตัวที่โรงเรียนอะชิคางะอันโด่งดังในจังหวัดชิโมทสึเคะในปีเทนโชที่ 18 (1590) ตามบันทึกแล้ว โรงเรียนอะชิคางะมีมาตั้งแต่ต้นยุคเฮอันและด้วยจำนนวนนักเรียนมากกว่า 3000 คนในปลายยุคมุโรมาจิ ถือเป็นสถานศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ทว่า ด้วยเหตุผลใดจึงทำให้คุนิฮิโระเดินทางจากคิวชูมายังเขตคันโตตะวันออก ว่ากันว่าเขาหาที่หลบภัยจากความวุ่นวายที่ยังไม่สงบที่คิวชู นอกจากนี้ พระในพระพุทธศาสนานามโซกิน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำของสถานศึกษาในขณะนั้นยังมาจากเขตอิโตอีกด้วย โซกินได้เข้ามาบริหารโรงเรียนในปี 1579 และเป็นไปได้ว่าทั้งคู่น่าจะรู้จักกันอยู่ก่อนตั้งแต่สมัยยังอยู่ที่คิวชู

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Mutsu no Kami Yoshiyuki

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/118798614716/mutsunokami-yoshiyuki

มุทสึโนะคามิถูกตีขึ้นในช่วงต้นเอโดะ (1650-1710) โดยช่างโมริชิตะ เฮย์สึเกะ และเป็นสมบัติที่สืบทอดกันมาในตระกูลของซาคาโมโตะ เรียวมะ (1835-1867) ซาคาโมโตะเป็นบุคคลสำคัญในยุคบาคามัทสึ เขาเกิดที่โทสะ (จังหวัดโคจิในปัจจุบัน) ในตระกูลพ่อค้าซามูไรซึ่งเป็นชนชั้นล่างสุดของระบบซามูไร ในวัยเยาว์ เขาเป็นผู้ชื่นชอบวิชาดาบ จนกระทั่งเมื่อเรือสีดำของอเมริกันเข้ามาปิดล้อมและบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดท่าเรือให้ ชีวิตของซาคาโมโตะก็ได้เปลี่ยนไปตลอดกาล ในยุคของความสับสนวุ่นวายจากการคุกคามของต่างชาติซึ่งทำให้นโนบายปิดประเทศเป็นระยะเวลาหลายศตวรรษของญี่ปุ่นต้องจบสิ้นลง แนวคิดหนึ่งคือ มิโตะกาคุ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อของชินโตและขงจื๊อก็ได้กระจายความรู้สึกต่อต้านต่างชาติออกไปในรูปแบบของขบวนการซนโนะโจอิ (เคารพจักรพรรดิ ขับไล่คนเถื่อน) การตอบรับต่อหน้าที่อันทรงเกียรติและต่อสู้เพื่อจุดประสงค์อันสูงสุดโดยไม่ขึ้นกับชนชั้น ความเห็นอกเห็นใจในวงศ์ตระกูลหรือความรับผิดชอบตามธรรมเนียมประเพณีคือหลักคติของเหล่าผู้เข้าร่วมขบวนการนี้ การตีความว่าด้วย “ความพยายามทำเพื่อหน้าที่อันสูงสุด” เป็นสิ่งที่ดึงดูดบุคคลที่มีฐานะกระจ้อยร่อยเช่นซาคาโมโตะ ในฐานะบุตรคนรองจากตระกูลพ่อค้าซามูไร เขาถูกจองจำกัดบทบาทเอาไว้แต่เพียงหน้าที่ตรมประเพณีจนกระทั่งแนวคิดเขิงปฏิรูปนี้ได้เข้ามา

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Taroutachi [แปลโดย taiki_taiki]

ทาโร่ทะจิ
ชื่อที่สลักอยู่บนตัวดาบ สุเอะ โนะ อาโอเอะ

ณ แคว้นเอจิเซ็น มีข้ารับใช้แห่งตระกูลอาซาคุระซึ่งปกครองแคว้นคนหนึ่ง ซึ่งนามของเขาเป็นที่รู้จักโดยทั่วกันในฐานะของนักรบผู้กล้าแกร่ง เขาคือ มาคาระ นาโอทะกะ นักรบผู้ใช้โอดาจิซึ่งต่อสู้และพลีชีพในยุทธการอาเนะกาวะ ช่วงปีเก็งคิ (ราวๆ ค.ศ. 1570) โอดาจิที่เขาใช้ซึ่งถูกเรียกว่า มาคาระทะจิ นั้น มีตำนานเล่าเรื่องเกี่ยวกับความยาวของมันเอาไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ ราคุโกะ (การขับเสภาตำนานเรื่องเล่าให้ตลกขบขันในสมัยเอโดะ) องค์หนึ่งในชื่อตอน “อุคิโยะโดะโคะ” ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่พ่อค้าและช่างฝีมือ
“หนึ่งชาคุ สองเต็น (ประมาณ 36 cm) นี่มันมีดสั้นชัดๆ”
“นั่นมันความกว้าง”
“แบบนั้นก็มองข้างหน้าไม่เห็นน่ะสิ”
“งั้นก็เจาะรูตรงใบดาบซะสิ เอาไว้ส่องแล้วค่อยฟันฉับ……”

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Nikkari Aoe

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.90-95. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

เดิมดาบนิคคาริ อาโอเอะอันโด่งดังมีความยาว ~75.8 cm แต่ได้ถูกทำให้สั้นลงจนเหลือเพียง 60.3 cm ดังในปัจจุบัน ซึ่งทำให้ดาบดังกล่าวเป็น โอวาคิซาชิ (วาคิซาชิขนาดใหญ่) บนส่วนโคนดาบ มีนามสลักด้วยทองของเจ้าของเดิม แต่ส่วนหนึ่งของนามนี้หายไปเนื่องจากความยาวที่สั้นลง ชื่อส่วนที่เหลืออ่านได้ว่า “ฮาชิบะ โกโรซาเอมอน โนะ โจ นากะ” ซึ่ง “ฮาชิบะ” เป็นสกุลเดิมของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิเมื่อครั้งยังเป็นผู้ติดตามของโอดะ โนบุนากะ ชื่อ “ฮาชิบะ” อันที่จริงมาจากการผสมตัวอักษรของขุนพลผู้โด่งดังสองคนของโนบุนากะ คือนิวะ นากาฮิเดะ (1535-1585) และชิบาตะ คัทสึอิเอะ (1522-1583) ซึ่งตัวอักษร “wa” กับ “shiba” รวมกันอ่านได้ว่า “ฮาชิบะ” นี่ไม่ใช่เพียงความชาญฉลาดในการเล่นคำของฮิเดโยชิ แต่ยังเป็นกุศโลบายเพื่อไมตรีจิตอันดีของสองขุนพลผู้มีอำนาจมากในช่วงนั้นอีกด้วย แต่หากเป็นเช่นนั้น ชื่อ “ฮาชิบะ โกโรซาเอมอน โนะ โจ นากะ” หมายถึงใคร ทราบมาว่า ชื่อสามัญของนิวะ นากาฮิเดะคือ โกโรซาเอมอน แต่ทว่านามสกุลฮาชิบะไม่น่าจะเป็นชื่อของเขา เนื่องด้วยตัวเขาเองเป็นที่มาของนามสกุลดังกล่าวนั้น จึงมาถึงบุตรชายคนโตและผู้สืบทอดของเขา นิวะ นากาชิเงะ (1571-1637) ที่นอกจากได้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าตระกูลแล้ว ยังได้รับชื่อของผู้เป็นบิดามาอีกด้วย ในปีเทนโชที่สิบห้า (1587) นากาชิเงะเข้าร่วมกับฮิเดโยชิในศึกกับคิวชู แต่ถูกทำโทษเนื่องจากแสดงความประพฤติไม่เหมาะสมกับผู้ติดตามของฮิเดโยชิ ในเวลานั้น บทลงโทษดังกล่าวได้แก่การถูกย้ายไปสังกัดศักดินาที่ได้รับรายได้น้อยกว่าเก่า จากจำนวนมหาศาลถึง 1,230,000 โคคุจากจังหวัดเอจิเซ็น วาคาสะ และคางะของผู้เป็นบิดา เหลือเพียง 40,000 โคคุจากที่ดินเขตมัตโต (จังหวัดอิชิคาวะในปัจจุบัน)

Continue reading