[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Honebami & Namazuo Toshirou

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/110618131746/namazuo-honebami-toushirou

นามาสึโอะกับโฮเนะบามิถูกตีขึ้นโดยอะวะตะกุจิ โยชิมิทสึในศตวรรษที่ 13 (สมัยคามาคุระ) เดิมทีเป็นง้าว (薙刀) สำหรับการศึกบนหลังม้า ทว่าหลังจากยุทธวิธีการรบเปลี่ยนแปลง และมีการใช้งานทหารราบ (足軽) มากขึ้นหลังจากสงครามโอนิน (1467) ง้าวก็ดูจะเทอะทะเกินไปสำหรับกระบวนทัพที่แน่นหนา และหอกได้กลับกลายมาเป็นที่นิยมแทน การใช้งานง้าวลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังการเข้ามาของปืนไฟในช่วงสงครามเซ็นโกคุ (1543) ดังนั้นทั้งคู่จึงถูกเปลี่ยนสภาพจากง้าวไปเป็นทาจิหรือวากิซาชิที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นไปได้ว่าเพื่อให้ใช้งานได้เหมาะสมกับความต้องการในยุคนั้น

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Sayo Samonji

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/109669187011/sayo-samonji

ชื่อของข้าคือซาโยะ ซามอนจิ มีใคร…ที่ท่านอยากจะแก้แค้นหรือเปล่า…?”

ชื่อของซาโยะมาจากบทเพลงของพระในพระพุทธศาสนาท่านหนึ่ง หากแต่เขากลับเป็นที่รู้จักกันในเรื่องราวการแก้แค้นอันนองเลือด และเจ้าตัวเองก็ไม่เคยเข้าใจถึงความงามของอดีตอันมืดมนของตัวเองที่ผู้อื่นมองเห็น ในช่วงยุคโมโมยามะ คู่รักซามูไรไร้นายที่อาศัยอยู่บนภูเขาได้ซาโยะมาครอบครอง ทว่าผู้เป็นสามีกลับตายตั้งแต่บุตรชายยังแบเบาะ ด้วยความยากจน ผู้ภริยาจึงต้องตัดใจแยกจากมีดสั้นอันเป็นที่รักเพื่อแลกกับเงินค่าใช้จ่าย นางลงจากเขาเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อตามหาพ่อค้าที่จะให้ราคาดีสำหรับมีดสั้นแสนล้ำค่า ระหว่างทางต้องผ่านช่องทางที่เรียกกันว่า ซาโยะ โนะ นาคายามะ ซึ่งเป็นแหล่งโจรชุกชุม นางถูกฆ่าและพวกโจรก็ปล้นเอามีดสั้นไป

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Souza Samonji [แปลโดย taiki_taiki]

แปลโดย: @taiki_taiki [ฝากลง] 
แปลและเรียบเรียงจาก 
http://hanamiyass.tumblr.com/post/109521223092/souza-samonji

宗三左文字 Souza Samonji –

  • ที่มาของชื่อ โซวสะ ซามอนจิ : ซามอนจิ มาจากชื่อของช่างตีดาบ ส่วนโซวสะ มาจากชื่อเจ้าของดั้งเดิมคือ มิโยชิ มาซานากะ (หรือ โซวสะ นั่นเอง)
  • เคยอยู่ในครอบครองของ ทาเคดะ โนบุโทระ, อิมากาวะ โยชิโมโตะ (บางครั้งจึงเรียกโซวสะว่า โยชิโมโตะ ซามอนจิ), โอดะ โนบุนากะ, โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ, และโทคุกาวะ อิเอยาสึ
  • จากการที่เคยตกอยู่ในครอบครองของสามวีรบุรุษแห่งยุคเซนโกคุ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “สัญลักษณ์ของผู้ครองแผ่นดิน” และถูกมองว่าเป็นถ้วยเกียรติยศหรือนกในกรงขัง มากกว่าจะเป็นดาบคู่ใจหรือเครื่องมือ
  • แม้จะยอมจำนนต่อโชคชะตา แต่โซวสะก็ยังคงใฝ่หาอิสระ
  • ตอนที่โนบุนากะได้ โซวสะ ซามอนจิ ไว้ในครอบครอง เขาก็ได้สลักชื่อตนเองลงบนตัวดาบ ชื่อของโนบุนากะจะเห็นได้จากตอนที่โซวสะใช้ท่าไม้ตาย และเรื่องนี้ดูจะกลายเป็นแผลในใจของโซวสะมาตลอด
  • ได้รับความเสียหายหนักจากเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ปีเมอิเรคิ (ถือเป็นไฟไหม้ครั้งใหญ่สุดหนึ่งในสามของประวัติศาสตร์โลกถัดจากไฟไหม้กรุงโรม และไฟไหม้ที่ลอนดอน) ในยุคเอโดะ ทำให้เสียหายหนักจนต้องมีการตีซ่อมแซมใหม่อีกครั้ง จึงทำให้โซวสะกลัวไฟ
  • โซวสะมองว่าซานิวะคงจะต้องการตนเองเป็นรางวัลเกียรติยศเช่นเดียวกับเจ้านายคนก่อนๆ

โซวสะ ซามอนจิ ถูกส่งต่อผ่านมือเจ้านายหลายคน และมักจะเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น เขาถูกตีขึ้นโดยนายช่าง ซามอนจิ และเดิมเคยเป็นดาบในครอบครองของเซนโกคุไดเมียว มิโยชิ มาซานากะ ซึ่งเคยบวชเรียนจึงได้ชื่อทางธรรมว่า โซวสะ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Doudanuki Masakuni

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/116931609141/doutanuki-masakuni

ดาบโดดานุกิเป็นสายดาบสำหรับใช้งานกำเนิดจากกลุ่มช่างตีดาบในจังหวัดฮิโกะ (ปัจจุบันคือคุมาโมโตะ) ในช่วงกลางยุค 1500 สมัยเซ็นโกคุ ระหว่างความคุกรุ่นของสงคราม การผลิตดาบที่ใช้งานได้ดีแต่ก็เป็นสินค้าใช้แล้วทิ้งได้เป็นที่นิยมกว่าการสร้างสรรค์ศิลปะชั้นสูง มาซาคุนิเป็นเล่มที่โด่งดังที่สุดในจำนวนสายดาบดังกล่าว ถูกตีขึ้นโดยโอยามะ โคสึเกะ โนะ ซึเกะ ไดเมียวคาโตะ คิโยมาสะ (加藤 清正) ผู้โด่งดังเป็นผู้อุปถัมภ์เหล่าช่างตีดาบสายโดทานุกิ เขาได้นำดาบและกลุ่มช่างผู้ตีไปทำการผลิตดาบที่สนามรบสำหรับกองทัพในสงครามรุกรานเกาหลี (1592-1598 และยังเป็นหัวข้ออ่อนไหวจนถึงปัจจุบัน) ตามคำสั่งของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ คาโตะประทับใจมากกับประสิทธิผลของดาบโดทานุกิจึงได้ประทานอักษรตัวหนึ่ง (正) จากชื่อของเขาเองให้กับโอยามะ โคสึเกะ โนะ ซึเกะ ซึ่งถือเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่สำหรับสามัญชนในสมัยนั้น ดังนั้นโอยามะ โคสึเกะ โนะ ซึเกะจึงได้เปลี่ยนลายเซ็นของตัวเองจากโนบุโยชิ (信賀) เป็นมาซาคุนิ (正国)

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Kousetsu Samonji

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/112138060746/kousetsu-samonji

“…ดาบ หากไม่ได้ใช้ย่อมเป็นการดี ก่อนจะชักออกมาหรือใช้ดาบ จงพยายามแก้ไขอย่างสันติวิธีก่อน ไม่เห็นด้วยหรือว่านี่คือประเด็นสำคัญที่ควรต่อการพิจารณา”

โคเซ็ทสึ ซามอนจิเคยเป็นดาบของอิทาเบโอกะ โคเซ็ทสึไซ (1537-1609) พุทธศาสนิกชนผู้เปี่ยมศรัทธาต่อพระศาสนาและเป็นผู้ติดตามโฮโจ อุจิมาสะ โคเซ็ทสึได้ชื่อมาจากอดีตผู้เป็นนาย ทั้งท่าทางและจีวรก็ยังเหมือนกับพระในศาสนาพุทธอีกด้วย โคเซ็ทสึไซเป็นผู้รักสันติที่เกิดระหว่างช่วงสงครามเซ็นโกคุ เขาพยายามเลี่ยงการฆ่าฟันและใช้การเจรจาในการไกล่เกลี่ยสภาวะตึงเครียดต่างๆเพื่อเหล่าผู้เป็นนายของเขา โฮโจ อุจิมาสะเป็นพันธมิตรกับโอดะ โนบุนากะช่วงหนึ่งในระหว่างโนบุนากะขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ หลังจากโนบุนากะตายในเหตุการณ์ที่ฮอนโนจิ (1582) ความสัมพันธ์ระหว่างโฮโจ อุจิมาสะและโทคุกาวะ อิเอยาสึก็ตึงเครียดเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดินแดน และโคเซ็ทสึไซก็ได้เจรจาต่อรองกับอิเอยาสึด้วยการจัดการแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตระกูลโฮโจและโทคุกาวะ จนนำมาซึ่งความสงบชั่วคราว

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติ: Kebiishi

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/113874702011/kebiishi

กองกำลังใหม่ เคบิอิชิ ได้เข้ามามีบทบาทขณะที่เหล่าหนุ่มดาบกำลังต่อสู้อย่างดุเดือดกับดาบฝ่ายศัตรูที่ต้องการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ เคบิอิชิ ตามประวัติศาสตร์ แล้วเป็นองค์กรผู้ตรวจการณ์ในสมัยเฮอัน ตั้งขึ้นในค.ศ.810 เพื่อต่อสู้กับความไม่สงบจากแผนการหวังยึดบังลังค์คือจากจักรพรรดิเฮย์เซย์ผู้ได้สละราชสมบัติไปแล้ว เคบิอิชิประสบความสำเร็จมากจนได้กลายมาเป็นองค์การหลักในการบริหารซึ่งรวมไปถึงกิจตุลาการ เนื่องจากได้รวมเอาอำนาจจากกระทรวงยุติธรรมและสภาเกียวโตเข้าไปด้วย เคอิบิชิถือเป็นกระดูกสันหลังของระบบการทหารสมัยเฮอัน และกิจตุลาการ จนกระทั่งถูกยุบไปในช่วงปลายสมัยเฮอันจากการขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มซามูไร

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Tsurumaru Kuninaga

Part 1: แปลจาก http://yue-ciel.tumblr.com/post/109914972096/tsurumaru-kuninaga

ชีวิตต้องการเรื่องประหลาดใจเข้ามาอยู่เสมอ หากไม่มีสิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมายของข้าแล้ว หัวใจของข้าคงจะตายลงเป็นสิ่งแรก

เจ้านายคนแรกของทสึรุมารุที่เป็นที่รู้จักในสมัยคามาคุระคือบุตรจากตระกูลอาดาจินามซาดายาสึ อายุไม่มากไปกว่า 14 ปีเมื่อทสึรุมารุมาอยู่กับเขาในฐานะสหายคู่ใจ ตระกูลอาดาจิเป็นซามูไรบริพาร (御家人) ของตระกูลโฮโจซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการของระบอบโชกุนคามาคุระ และ (ตระกูลอาดาจิ) เป็นตระกูลซามูไรบริพารมีอำนาจเดียวที่ตระกูลโฮโจไม่ได้แตะต้องในช่วงที่เข้าทำลายกลุ่มคู่แข่งทางอำนาจ เนื่องจากตระกูลอาดาจิได้ทำการสวามิภักดิ์ ทว่า สมดุลก็ถูกทำลายเนื่องจากการแข่งขันทางการเมืองระหว่างอาดาจิ ยาสึโมริและไทระ โยริทสึนะ บริพารและผู้พิทักษ์ของผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบัน โฮโจ ซาดาโทคิ ไทระกล่าวหาอาดาจิว่าต้องการยึดอำนาจจากโฮโจ ทำให้โฮโจให้ไฟเขียวกับการทำลายตระกูลอาดาจิในเหตุการณ์ชิโมทสึกิ (1285) ซาดายาสึทุกกวาดต้อนเข้าสู่เหตุนองเลือดไม่ใช่เพราะสาเหตุอื่นใด แต่เป็นความเคราะห์ร้าย และทสึรุมารุก็ตามเจ้านายที่อายุเพียง 14 ปีลงสู่หลุมฝังศพ เพื่อที่เด็กชายจะไม่ต้องอยู่อย่างเหงาหงอยเพียงลำพัง

ทว่า เรื่องน่าประหลาดใจก็มาเยือน เมื่อหลุมฝังศพของซาดายาสึถูกเปิด และเด็กชายคนหนึ่งหยิบเอาทสึรุมารุออกมา และแนะนำตัวเองเป็นเจ้านายคนใหม่ โฮโจ ซาดาโทกิ อายุ 14 ปี ไม่ได้เป็นเพียงเด็ก เนื่องจากได้ผ่านพิธีเกมปุคุเพื่อการเป็นผู้ใหญ่ตั้งแต่วัย 5 ขวบ แต่เป็นผู้สำเร้จราชการที่ออกคำสั่งประหารให้กับนายเก่าของทสึรุมารุ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Mikazuki Munechika

Part 1: แปลจาก http://yue-ciel.tumblr.com/post/110172078726/mikazuki-munechika

ปู่มิกะถูกสร้างขึ้นในศต.ที่ 11 (สมัยเฮอัน) โดนช่างตีดาบที่มีชื่อ ซันโจ มุเนะจิกะ เขา (ปู่) อยู่กับตระกูลซามูไรเก่าแก่อะชิคางะ ซึ่งสืบเชื้อสายจากตระกูลสาขาของตระกูลมินาโมโตะ เป็นเวลานานในฐานะดาบสมบัติประจำตระกูล ตระกูลอาชิคางะถึงจุดสูงสุดโดยการตั้งระบอบโชกุนมุโรมาจิ อะชิคางะ (1336-1573) หลังจากอะชิคางะ ทาคาอุจิล้มตระกูลโฮโจที่ปกครองระบอบโชกุนคามาคุระ (1185-1333)

เจ้านายที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ อะชิคางะ โยชิเทรุ (1536-1565) ที่ได้สมญาว่า โชกุนนักดาบผู้ยิ่งใหญ่ (剣豪将軍) เนื่องด้วยความสามารถและรสนิยมสูงเกี่ยวกับดาบ เขา (โยชิเทรุ) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาบที่กระตือรือร้นที่จะเพิ่มพูนคลังสะสมดาบมีชื่อของตระกูล ซึ่งในคลังสะสมนั้นมีสี่ในห้าสุดยอดดาบของญี่ปุ่น (天下五劍) อยู่ด้วย รวมไปถึงโฮเนะบามิ* ทว่า สามไดเมียวผู้ครองอำนาจร่วม มัทสึนางะ ฮิซาฮิเดะ และมิโยชิ ต้องการจะถอดถอนเขาจากอำนาจและตั้งโชกุนหุ่นเชิดขึ้นมาแทนที่ ทำให้เกิดเหตุการณ์ เอโรคุ (1565) กองกำลังของพวกเขาเข้าโจมตีเคหาสน์ของโยชิเทรุที่ปราสาทนิโจ

Continue reading

[PSYCHO-PASS FIC] In Praise of Purity (One Shot)

เช้าสดใสของฤดูใบไม้ผลิเดือนเมษา ไม่มีนาฬิกาเรือนใดชี้เข็มไปยังเลขสิบสาม หนึ่งร้อยยี่สิบแปดปีหลังโลกในนิยาย 1984 ของออร์เวล สวนเล็กๆแห่งหนึ่งใจกลางมหานครของญี่ปุ่นยังคงสุขสงบไม่ต่างจากฝันของเหล่ามนุษย์โลกสวย เมื่อเหล่าแมกไม้พากันสลัดกลีบรูปหัวใจจากโฮโลแกรมสมบูรณ์แบบ การกวาดกลีบซากุระเหี่ยวๆที่พื้นก็ไม่เป็นปัญหากวนใจอีกต่อไป โฮโลแกรม…ในความคิดของคามุย คิริโตะ…คือเทคโนโลยีสารพัดประโยชน์

เพียงแค่ใช้โฮโลแกรม ก็สามารถเปลี่ยนผืนดินอันเปลี่ยวร้างให้กลายเป็นสวนที่มีชีวิตชีวาและสีสัน จากที่ที่เขานั่ง เขาเห็นกระรอกโฮโลแกรมตัวจ้อยกระโดดจากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่ง เด็กหนุ่มแย้มรอยยิ้มน้อยๆ ถึงจะเป็นของปลอมแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีตัวตน ถึงจะเป็นของปลอมก็ใช่ว่าไม่มีความหมาย เด็กหนุ่มนั่งอยู่ที่นั่น…ชื่นชมความงามของฤดูใบไม้ผลิที่รังสรรค์ด้วยโฮโลแกรมจนสวยสดดังภาพวาด

บางครั้งเขาก็คิด…แม้ในมหานครแห่งนี้จะเต็มไปด้วยผู้คนมากมายที่สามารถสรรสร้างภาพอันมหัศจรรย์เหล่านี้ ทว่าน้อยคนนักที่จะสนใจ [งาน] ที่มักถูกทิ้งไว้หากไม่มีตัวช่วยอย่างโฮโลแกรมและพวกโดรน ตัวอย่างเช่น ห้องน้ำสาธารณะ ห้องน้ำเหล่านี้จะได้รับการทำความสะอาดเป็นเวลาในแต่ละช่วงของวัน โดยความถี่ในการทำความสะอาดจะขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉลี่ยมากน้อยในเขตพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นแล้ว…ในช่วงระหว่างวัน ผู้คนส่วนมากก็จะเข้าห้องน้ำ ปลดปล่อยความอัดอั้นทั้งปวงจนกระทั่งลุซึ่งความเห็นแก่ตัวอันผ่อนคลายสบายจิตถึงแล้วซึ่งการปลดปล่อยและอิสรภาพ

มันเป็น…ความเห็นแก่ตัวอย่างยิ่งยวดที่คนพวกนี้แค่เข้าห้องน้ำแล้วก็จากไป

ไม่มีผู้ใดเลยจะเหลียวแลความสะอาดของห้องน้ำสาธารณะ พวกเขาเพียงแค่เข้ามาใช้แล้วก็จากไปง่ายๆราวห้องน้ำเป็นโสเภณีชั้นต่ำ ไม่เคยคิดจะทำความสะอาด ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นหน้าที่ของโดรนที่คอยเก็บกวาดตามเวลา แน่นอนว่าคนพวกนี้ไม่เคยมีปัญหากับภาพไม่น่ามองที่ถูกทิ้งไว้จากความเห็นแก่ตัวคนอื่นๆ เพียงเพราะโฮโลแกรมจะคอยปกปิดภาพอันสุดจะซกมกเสมอ และเนรมิตห้องน้ำสาธารณะห้องนั้นให้กลับเป็นสถานที่สบายตาสำหรับคนที่จะเข้ามาใช้งานสุขาต่อๆไป

แต่นั่น…ก็ต่อเมื่อโฮโลแกรมยังทำงานเป็นปกติ

Continue reading

[PSYCHO-PASS FIC] Trapped (One Shot)

Tangled in bed were two bodies
Twined were thin sheet and threads of destiny
Sweet were words those sensual lips whispered
Sweeter still the taste and truth of irony

—Trapped —
From a monster to a monster

ดวงทิวาเลื่อนเยือนขอบฟ้า แสงทองประดับประดาสรวงสวรรค์อันไร้ขอบเขตเมื่อบุปผาแห่งรัตติกาลโรยร่วงดังคณิกาโดนทิ้งทอด อรุณมาเยือนพร้อมกับสัมผัสที่อบอุ่นแทรกอณูผ่านผืนผ้าม่านสีสด…อย่างเงียบงัน ความอบอุ่นนั้นเคลื่อนไล้ดุจนิ้วมือของคนรัก…เลื่อนสัมผัสลงบนผิวเปลือยเปล่าที่ซุกซ่อนใต้อ้อมกอดของผ้าห่ม สายลมฤดูใบไม้ร่วงแวะเวียนมา…เคาะร้องเรียกที่บานกระจกหน้าต่าง กระจกใสสะท้อนสีครามของฟากฟ้า และแม้ว่าความฝันของเหล่าผู้หลับใหลจะสุกสว่าง รุ่งอรุณนั้นกลับสว่างสดใสยิ่งกว่าความฝันที่ใกล้จะจางหาย…​

อย่างเงียบเชียบ ปลายนิ้วอุ่นของตะวันทาบลงบนผิวกาย ขับไล่ความหนาวเย็นของค่ำคืนก่อนหน้า ความอบอุ่นแสนอ่อนโยนและแสงอันสว่างคืนชีวิตชีวาให้กับภาพก่อนหน้าที่ถูกซุกซ่อน

[สีขาวและสีดำ] ที่ตัดกันอย่างสมบูรณ์

แรกสุดคือเรือนผม หนึ่งคือสั้นไร้ระเบียบ อีกหนึ่งยาวและนุ่มนวล หนึ่งดำสนิทดังเพลาแห่งนิทรา อีกหนึ่งสีดุจแสงจันทราอันยวนเย้า ถัดต่อมาคือผิวกาย หนึ่งสีแทนดังเปลวตะวันพร่ำจุมพิตเบียดแนบชิดกับสีสันอันซีดขาว แผ่นอกแกร่งแนบชิดแผ่นหลังนวล สองแขนตระกองกอดร่างตรงหน้า หากมองภาพนี้แล้ว…มันอาจจะลวงหลอกราวกับฝันก่อนตื่นจากนิทรา ลวงหลอกว่าคนสองคนคือคู่รักในมายาที่หวานล้ำ ลวงไป…ว่าประวัติที่มาของภาพคือฝันร้ายที่สุด…ความฝันอันดำมืดที่เต็มไปด้วยเลือดและความตาย

ทว่าฝันอันงดงามก็มีวันสิ้นสุดลง ความฝันสุกสว่างผุพังแตกสลาย ไอแดดยามเช้าปลุกร่างหนึ่งให้ตื่นจากนิทราฝัน เมื่อความอบอุ่นนั้นเรียกให้นัยน์ตาสีดำสนิทลืมเปิดจากความมืดใต้เปลือกตา นัยน์ตาที่เคยเพียงแต่มองจ้องเข้าไปในความมืดมิดบัดนี้จับจ้องที่เรือนร่างในอ้อมแขน นี่คือ… [สัตว์ประหลาดไร้นาม] ที่เขาตามหามาตลอดหลายปี…

อสุรกายที่งดงามและเหี้ยมโหด ผู้ซึ่งไร้นามกรที่จะเรียกขานใน [โลกใบนั้น]

นิ้วยาวแตะเบาๆลงบนต้นคอของร่างที่หลับใหล คอเพรียวระหงที่ดูบอบบางจนราวกับสามารถจะหักทิ้งได้ราวกับแขนของทารก [สุนัขล่าเนื้อ] หรี่ตาลง ปล่อยให้ปลายนิ้วของตัวเองเลื่อนไล้ไปตามรอยช้ำที่ตัวเขาเองได้ทำไว้ ในตอนนั้นเอง เขาก็รู้สึกได้ถึงรสชาติอันขมฝาดของเรื่องตลกเสียดสีที่ร้ายกาจที่สุด

Continue reading