[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Kousetsu Samonji

แปลจาก: http://yue-ciel.tumblr.com/post/112138060746/kousetsu-samonji

“…ดาบ หากไม่ได้ใช้ย่อมเป็นการดี ก่อนจะชักออกมาหรือใช้ดาบ จงพยายามแก้ไขอย่างสันติวิธีก่อน ไม่เห็นด้วยหรือว่านี่คือประเด็นสำคัญที่ควรต่อการพิจารณา”

โคเซ็ทสึ ซามอนจิเคยเป็นดาบของอิทาเบโอกะ โคเซ็ทสึไซ (1537-1609) พุทธศาสนิกชนผู้เปี่ยมศรัทธาต่อพระศาสนาและเป็นผู้ติดตามโฮโจ อุจิมาสะ โคเซ็ทสึได้ชื่อมาจากอดีตผู้เป็นนาย ทั้งท่าทางและจีวรก็ยังเหมือนกับพระในศาสนาพุทธอีกด้วย โคเซ็ทสึไซเป็นผู้รักสันติที่เกิดระหว่างช่วงสงครามเซ็นโกคุ เขาพยายามเลี่ยงการฆ่าฟันและใช้การเจรจาในการไกล่เกลี่ยสภาวะตึงเครียดต่างๆเพื่อเหล่าผู้เป็นนายของเขา โฮโจ อุจิมาสะเป็นพันธมิตรกับโอดะ โนบุนากะช่วงหนึ่งในระหว่างโนบุนากะขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ หลังจากโนบุนากะตายในเหตุการณ์ที่ฮอนโนจิ (1582) ความสัมพันธ์ระหว่างโฮโจ อุจิมาสะและโทคุกาวะ อิเอยาสึก็ตึงเครียดเนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดินแดน และโคเซ็ทสึไซก็ได้เจรจาต่อรองกับอิเอยาสึด้วยการจัดการแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างตระกูลโฮโจและโทคุกาวะ จนนำมาซึ่งความสงบชั่วคราว

ทว่า หลังจากนั้นโฮโจอ้างสิทธิ์อำนาจให้ตัวเองโดยไม่ได้รับการยินยอมจากโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ผู้รวมแผ่นดินยุคเซ็นโกคุคนถัดมา ฮิเดโยชิเห็นเขาเป็นเสี้ยนหนาม และสงครามก็สามารถเกิดได้ทุกขณะ โคเซ็ทสึไซจึงไปทำความเคารพฮิเดโยชิ และพยายามหว่านล้อมให้เขาเลิกคิดโจมตีโฮโจ แม้ว่าฮิเดโยชิจะไม่เปลี่ยนใจ แต่ฮิเดโยชิก็ประทับใจในทักษะการทูตการเจรจาของโคเซ็ทสึไซ หลังจากปราบตระกูลโฮโจได้ศึกโอบล้อมโอดะวะระ (1590) ฮิเดโยชิรับโคเซ็ทสึไซเข้ามาเป็นผู้ติดตามของตัวเองเนื่องจากทักษะอันมีค่า และโคเซ็ทสึไซก็ได้มอบโคเซ็ทสึ ซามอนจิให้กับฮิเดโยชิเป็นของขวัญตอบแทน หลังจากฮิเดโยชิตาย (1598) โคเซ็ทสึไซ และดาบโคเซ็ทสึ ก็ได้ไปรับใช้อิเอยาสึ หลังจากนั้นดาบโคเซ็ทสึก็ถูกส่งต่อไปยังตระกูลคิชูที่เป็นสาขาของตระกูลโทคุกาวะ และอยู่ที่นั่นต่อมาในช่วงเวลาที่เรียกได้สงบสุขที่สุดของเอโดะ

“โลกใบนี้เต็มไปด้วยความโศกเศร้า”

บทพูดของโคเซ็ทสึเกี่ยวกับโลกอันน่าเศร้ามาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าชีวิตเต็มไปด้วยทุกข์ ทว่านี่ไม่ใช่มุมมองชีวิตในแง่ร้าย แต่เป็นการมองอย่างตระหนักในความจริง และมองหาหนทางดับทุกข์ เป็นไปไม่ได้ที่จะหลีกเลี่ยงทุกข์เช่น ความเจ็บป่วย ความชราและความตาย แต่ทุกข์ทางใจเช่น ความไม่พอใจ ความผิดหวัง ความโกรธแค้นนั้นต่างออกไป ทุกข์ทางใจพวกนี้เกิดจากความต้องการและอารมณ์ทางโลก เช่น ราคะ ความริษยา ทิฐิ ความต้องการของคนเราสามารถถูกเติมเต็มได้ แต่คนเรามีความต้องการไม่จบสิ้น ทางพุทธตระหนักว่ามีทั้งสุขและเศร้าในโลก แต่ความไม่จีรังคือวิถีแห่งชีวิต ความสุขความสำเร็จไม่ยั่งยืน ยึดมั่นถือมั่นจะทำให้มีแต่ทุกข์ ดังนั้นจึงเป็นการสำคัญที่จะชื่นชมทุกโอกาสแห่งสุข และพยายามทำให้เกิดโอกาสนั้น ความคิดนี้ถูกแสดงออกอย่างชัดเจนใน ตำนานเฮเคะ การต่อสู้ที่มีแต่การนองเลือดนำมาซึ่งอำนาจเพียงชั่วคราวของเหล่าตระกูลซามูไรที่แก่งแย่ง และความโอหังก็นำไปสู่จุดจบ ศีลข้อแรกของพระพุทธศาสนาสอนให้ละเว้นจากฆ่าสัตว์ พึงแสวงหาหนทางเห็นสันติ และหลีกเลี่ยงความรุนแรงเว้นเสียแต่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ นี่จึงเป็นเหตุว่าทำไมโคเซ็ทสึจึงไม่ชอบต่อสู้ แม้ว่าเขาจะได้กล่าวไว้ว่าเขายังจะป้องกันตัวเองและไม่ปล่อยให้ตัวเองถูกฆ่า

โคเซ็ทสึถูกตีขึ้นโดยซาเอมอนซาบุโร่ในศตรวรรษที่ 14 และเป็นทาจิเล่มเดียวที่ได้รับการสลักชื่ออันเป็นเอกลักษณ์จากผู้ตี คือมีอักษร ซา () เพียงตัวเดียว โคเซ็ทสึอาจจะเคยอยู่ในตระกูลโฮโจ และมอบให้ผู้ติดตามโคเซ็ทสึไซ ไดเมียวโฮโจในยุคสงครามเซ็นโกคุแทบไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับตระกูลโฮโจผู้สำเร็จราชการระบอบโชกุนคามาคุระ

Edit: เพิ่มรูป Kousetsu Samonji จากหนังสือ Sesko, M. (2012). Legends and Stories around the Japanese Sword 2, p.71. Raleigh: Lulu Enterprises, Inc.

ความยาวใบดาบ 78.2 cm ความยาวส่วนโค้ง 2.6 cm

CFcIYEVUMAAq8EX

Leave a comment