[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Kogarasumaru

Part 1: แหล่งข้อมูลหนังสือภาษาอังกฤษ

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2012). Legends and Stories around the Japanese Sword 2, pp.17-31. Raleigh: Lulu Enterprise, Inc.

ใน [] คือส่วนที่ผู้แปลอธิบายขยายเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ

ชื่อ “โคการาสึมารุ” (อีกาน้อย) เป็นท่ีรู้จักกันดีสำหรับใครก็ตามที่พอจะคุ้นเคยกับดาบญี่ปุ่น ในบทนี้ [ผู้แต่ง] ต้องการเจาะลึกในรายละเอียดเรื่องโคการาสึมารุและการสืบทอดดาบ เพราะว่า นอกจากรูปร่างภายนอกและความสัมพันธ์กับตระกูลไทระแล้ว เรื่องอื่นเกี่ยวกับดาบเล่มนี้ไม่เป็นที่รู้กันมากนักนอกจากในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน [ผู้แต่ง] ต้องการเริ่มจากทฤษฎีว่าด้วยการตั้งชื่อและที่มาของดาบ เนื่องจากเบื้องต้นแล้วมีด้วยกันห้าเรื่องด้วยกัน

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Nihongou

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/142175162488/nihongou

日本号

天下三名槍が一本にして、日の本一の呼び声も高い、日本号だ。 槍でありながら、正三位の位持ちって聞けば、オレの凄さもわかるだろ? ……ただなあ。世間じゃどうにも、酒の席で羽目外したせいでぶんどられた槍ってことで有名なんだよなあ……

ข้าคือหนึ่งในสามสุดยอดหอกใต้หล้า ทั้งยังพ่วงกิตติศัพท์ว่าเป็นเลิศที่สุดของญี่ปุ่น นิฮงโก ถ้าข้าบอกว่า แม้ข้าจะเป็นหอก แต่ก็มีตำแหน่งอาวุโสเป็นขุนนางระดับสาม เจ้าจะเข้าใจความยิ่งใหญ่ของข้าไหมนะ …แต่ก็…ข้าก็เป็นที่รู้จักในฐานะหอกที่ถูกเอาไปจากเจ้าของ เพราะนายมัวแต่ดื่มเพลินจนเมาหัวราน้ำด้วยน่ะนะ

นิฮงโกถูกตีขึ้นโดยคานาโบ มาซาสึกุ (金房政次) ในนยุคมุโรมาจิ (1336-1573) ความยาวใบดาบปัจจุบันคือ 79.2 cm จากความยาวทั้งหมด 321.5 cm

นิฮงโกเป็นหนึ่งในสามสุดยอดหอกใต้หล้าแห่งญี่ปุ่น แต่ละเล่มเป็นหอกที่ถูกสร้างขึ้นโดยนายช่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับ ทมโบะกิริ (蜻蛉切) และ โอเทะกิเนะ (金房政次) เมื่อรวมกับอีกสองเล่มในสามหอกใต้หล้าแล้ว จึงเกิดเป็นภาษิตหนึ่งที่ว่า “คุโรดะมีนิฮงโกอยู่ประจิมทิศ บูรพาสถิตมัทสึไดระครองโอเทะกิเนะในถิ่นฐาน”

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Higekiri & Hizamaru

แปลและเรียบเรียงจาก: Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.17-25. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

ในบทนี้จะขอกล่าวถึงสถานการณ์ยุ่งยากอย่างหนึ่งในการศึกษาเรื่องที่มาและตำนานเกี่ยวกับดาบ ว่าด้วยการเปลี่ยนชื่อ การจำลองดาบซ้ำ และดาบที่มีชื่อเหมือนกันบางเล่ม เรื่องเล่าหนึ่งเริ่มจากมินาโมโตะ โนะ มิทสึนากะ (912-997) ผู้ซึ่งชื่อต้นอาจอ่านได้ว่า “มันจู” เช่นเดียวกับโยริมิทสึ มิทสึนากะกำลังตามหาดาบที่ควรค่าแต่ทว่าก็ไม่พอใจกับช่างตีที่ถูกแนะนำเข้ามาเสียที ดังนั้นเขาจึงให้คนของคนไปเชิญช่างมาจากแผ่นดินใหญ่ ในตำนานเฮย์เคะสมัยคามาคุระเล่าถึง ช่างเหล็กจากเมืองจีนที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่าเดยามะ ในเขตมิคาสะ จังหวัดจิคุเซ็น ช่างผู้ไม่ถูกเอ่ยนามนี้ตีดามหลายเล่ม แต่ก็ไม่มีเล่มใดที่ถูกใตมิทสึนากะ เขาจึงถูกปลด ด้วยความผิดหวัง แต่ยังมั่นใจว่าตนสามารถทำงานนี้ได้แน่ เขาจึงได้ภาวนาต่อเทพฮาจิมันซึ่งท่านก็ได้ยินเขาและได้มอบเหล็กสำหรับตีดาบสองเล่มให้ หลายเดือนต่อมา เขาก็สามารถส่งมอบดาบสองเล่มนี้ให้กับมิทสึนากะได้

อีกตำนานกล่าวว่าจักรพรรดิญี่ปุ่นได้แบ่งหอกจีนราชวงศ์ถัง (618-907) ความยาวสองเมตรครึ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน และสั่งให้ช่างสองนายคือโมฟุสะจากจังหวัดทางเหนือ (โอชู) และโคคาจิ มุเนะจิกะจากเกียวโตทำดาบมาคนละเล่ม ปัญหาคือโมฟุสะตีดาบออกมายาว 3 ชาคุ (~90.0 cm) แต่มุเนะจิกะดาบยาวเพียง 2 ชาคุ 7 ซุน (~81.8 cm) จักรพรรดิรู้สึกว่าตนถูกโกงไป 3 ซุนจึงได้ให้จับกุมมุเนะจิกะ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Jiroutachi

เรียบเรียงจาก http://tourandanshi.tumblr.com/post/119683251938/jiroutachi และ http://tourandanshi.tumblr.com/post/119847664693/tarou-and-jirou

ข้าคือจิโร่ทาจิ ก็อย่างที่เห็น ข้าเป็นโอดาจิ ข้าถูกอุทิศให้กับทวยเทพเช่นเดียวกับพี่ชายข้า ทาโร่ทาจิ แต่ต่างกันที่ขนาดของข้าไม่ได้ทำให้มีผู้ใช้ข้าไม่ได้ ถ้าจะออกแรงสักหน่อยน่ะนะ แต่ข้ายังมีขนาดใหญ่มากจริงๆนั่นล่ะ!”

จิโร่ทาจิถูกตีขึ้นโดยช่างชาวเอจิเซ็น* จิโยสึรุ และถูกใช้งานโดยมาคาระ นาโอสึมิผู้เป็นซามูไรในยุคเซ็งโกคุ (1478-1605) นาโอสึมิเป็นบริวารตระกูลอาซาคุระ เขาต่อสู้และสิ้นชีพลงในศึกอะเนกาวะ (1570) ร่วมกับพี่ชาย นาโอทากะผู้ใช้ทาโร่ทาจิ

หลังจากถูกรุมล้อมโดยทัพของโนบุนากะและอิเอยาสึ มาคาระ นาโอทากะขอให้ัตรูตัดหัวของเขาเพื่อความตายอันทรงเกียรติ ขณะที่นาโอสึมิตายในสนามรบ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Horikawa Kunihiro

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/124691152298/horikawa-kunihiro

“ผม? ผมคือโฮริคาวะ คุนิฮิโระ ผมร่วมกับอิซึมิโนะ คามิคาเนะซาดะ รับใช้ฮิจิคาตะ โทชิโซ โดยผมเป็นวาคิซาชิ ที่ว่าผมเป็นคุนิฮิโระของแท้รึเปล่ายังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ แต่อย่างน้อย ผมก็เป็นคู่หูของคาเนะซัง…ผมหมายถึง คู่หูของคาเนะซาดะอย่างไร้ข้อกังขาครับ”

โฮริคาวะ คุนิฮิโระได้ชื่อมาจากช่างตีซึ่งตีเขาขึ้นมาในช่วงปี 1531-1631

โฮริคาวะเป็นของฮิจิคาตะ โทชิโซ รองหัวหน้าของกลุ่มชินเซ็น นักดาบที่มีความสามารถและหัวหน้าฝ่ายการทหารท่ีต่อต้านการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ

ฮิจิคาตะเสียชีวิตในการปะทะกันครั้งสุดท้ายของการปฏิวัติในวันที่ 20 มิถุนายน 1869 เขาถูกสังหารในการต่อสู้บนหลังม้าโดยกระสุนที่ทำให้หลังส่วนล่างของเขาแตกละเอียด ในจำนวนของที่ถูกมอบให้กับบริวารของเขา อิจิมุระ เท็ตสึโนะสึเกะในเวลาสั้นๆก่อนเขาจะตายมีบทกวีลาตาย* รูปภาพของเขา เส้นผมสองสามเส้น ดาบสอวเล่ม และจดหมายส่งหาซาโต้ ฮิโกะโกโร่ (พี่เขยของฮิจิคาตะ)

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประว้ติดาบ: Midare Toushirou

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/130826610228/midare-toushirou

“ผมคือมิดาเระ โทชิโร่ เช่นเดียวกับพี่น้องของผม ผมเป็นมีดสั้นที่ถูกสร้างขึ้นโดยอะวะตะกุจิ โยชิมิทสึ ในบรรดาพี่น้อง ผมมีลักษณะต่างจากคนอื่นเพราะมีมิดาเระบะ ว่าไงครับ ผมดูต่างออกไปใช่ไหมล่ะ”

มิดาเระ โทชิโร่ถูกตึขึ้นโดนอะวะตะกุจิ โยชิมิทสึ (粟田口吉光) ประมาณปี 1259 (ปลายยุคคามาคุระ) และยาว 22.5 cm

มีการผลิตมีดสั้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในปลายยุคคามาคุระ จึงทำให้มีการผลิต “พี่น้อง” โทชิโร่จากสำนักอะวะตะกุจิ

แม้เราจะเห็นได้จากในเกมว่ามิดาเระแตกต่างจากพี่น้อง เขาแต่งตัวเป็นผู้หญิง อาจจะะเพื่อแสดงคุณค่าทางศิลปะของเขาที่แตกต่างคนอื่นๆ แต่สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามิดาเระเป็นมีดสั้นที่มีความเป็นเอกลักษณ์จริงๆในจำนวนมีดสั้นที่ถูกตีขึ้นโดยโยชิมิทสึ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Uguisumaru

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/126963774628/uguisumaru

“ข้าคืออุกุอิสึมารุ โอคาเนฮิระ? เจ้านั่นก็ถูกสร้างขึ้นตามแบบของดาบโคบิเซ็นเหมือนกัน ก็นะ ในช่วงสมัยที่ใกล้กัน พวกเราเกิดจากช่างตีที่(มีรูปแบบงาน)คล้ายคลึงกัน อาจจะเหมือนพี่น้องล่ะนะ”

อุกุอิสึมารุถูกตีขึ้นโดยบิเซ็น โทโมนาริ (備前友成) ราวช่วงปี 987 ทำให้เขาเป็นดาบที่อายุมากที่สุดเท่าที่มีในเกมในตอนนี้

โทโมนาริสถาปนาสำนักโคบิเซ็น (บิเซ็นเก่า) ที่เรียกกันว่าเป็นสายที่เก่าแก่ที่สุดของสายผลิตดาบแห่งจังหวัดบิเซ็น ช่างที่มีช่ือเสียงสามนายของสำนักนี้ ได้แก่ คาเนฮิระ มาซาทสึเนะ และโทโมนาริ

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Ookurikara

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/128521092218/ookurikara

“…ข้าคือโอคุริคาระ เป็นผลงานของฮิโรมิทสึแห่งสำนักโซชู นายเดิมของข้าคือดาเตะ มาซามุเนะ นามของข้ามาจากมังกรคุริคาระที่สลักบนใบดาบของข้า …นอกจากนั้นก็ไม่มีเรื่องอื่นที่ข้าจะพูด ยังไงซะ ข้าก็เป็นแค่มุเมโต” 

โอคุริคาระถูกตีขึ้นโดยฮิโคชิโร่ ฮิโรมิทสึจากสำนักโซชู ประมาณปี 1350

ดาบถูกส่งมอบโดยฮิเดทาดะ โชกุนคนที่สองให้กับบ้านดาเตะ และถูกนำไปจากบ้านดังกล่าวหลังช่วงยุคสงคราม ปัจจุบันเป็นของสะสมส่วนบุคคล

ตามบันทึกโทคุกาวะ วันที่ 21 ของดวงจันทร์ที่ 11 ตามปฏิทินจันทรคติ ปีที่ 6 ในยุคเก็นวะ (1620) ดาบเล่มนี้ถูกมอบให้กับดาเตะ ทาดามุเนะ (บุตรชายคนที่สองของไดเมียวผู้มีโด่งดังและมีอำนาจ ดาเตะ มาซามุเนะ) โดยโทคุกาวะ ฮิเดทาดะเป็นรางวัลสำหรับการสร้างกำแพงหินรอบปราสาทเอโดะแล้วเสร็จ ในเอกสารดาเตะ จิเคะ คิโรคุ (เอกสารของตระกูลดาเตะ) เองก็มีบันทึกเรื่องราวที่ตรงกัน

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Izumi no Kami Kanesada

แปลและเรียบเรียงจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/119451357298/izuminokami-kanesada

“ข้าคือดาบที่มีชื่อเสียงจากการถูกใช้งานโดยฮิจิคาตะ โทชิโซ​ อิซึมิโนะคามิ คาเนะซาดะ… แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ข้าไม่ได้ถูกตีขึ้นโดยคาเนะซาดะรุ่นที่สองที่เป็นที่นับหน้าถือตานักหนาหรอกนะ เป็นรุ่นที่สิบเอ็ดหรือสิบสองนี่ล่ะ ก็นะ…ช่วงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบยุคซามูไร แต่ข้าไม่มีอะไรจะบ่นที่ได้เกิดมาหรอก”

คาเนะซาดะเป็นตัวแทนของช่างตีดาบสายมิโนะและทำงานในยุคมุโรมาจิ* ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยโคโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาเนะซาดะรุ่นที่สองนั้นเป็นที่นับถือและถือได้ว่าเป็นช่างตีดาบสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ แม้ว่าอิซึมิโนะคามิจะถูกตีขึ้นโดยไอซึ คาเนะซาดะซึ่งเป็นรุ่นที่ 11 และรุ่นสุดท้าย

Continue reading

[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Monoyoshi Sadamune

แปลจาก: http://tinyurl.com/monoyoshi

ข้าแข็งแกร่งขึ้นแล้ว! ข้าจะนำโชคดีมาให้ทุกคนอีกเรื่อยๆนะขอรับ!”

โมโนโยชิถูกตีขึ้นในศตวรรษที่ 14 ยุคคามาคุระโดยหนึ่งในช่างตีดาบที่ดีที่สุดคนหนึ่งในช่วงเวลานั้น โซชู ซาดามุเนะ อย่างไรก็ดี ดาบเกือบทุกเล่มของซาดามุเนะไม่มีลายเซ็นจารึกซึ่งเป็นข้อสำคัญในการพิสูจน์เอกลักษณ์และค่าของดาบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักดาบผู้เสาะหาดาบอันดีเยี่ยม โมโนโยชินั้นไร้นามและรอยจารึกร่วมสามศตวรรษ จนกระทั่งเขาได้มีโอกาสเปล่งประกายในสนามรบของโทคุกาวะ อิเอยาสึในฐานะดาบที่นำพาชัยชนะมาให้ผู้เป็นเจ้าของ และด้วยเหตุนั้น นามโมโนโยชิจึงได้ถูกประทานให้กับเขาผู้เป็นดาบมงคลซึ่งเรียกเอาของขวัญแห่งโชคมาให้

Continue reading