[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Ichigo Hitofuri

Part 1: แปลและเรียบเรียงจาก Sesko, M. (2011). Legends and Stories around the Japanese Sword, pp.126-127. Norderstedt: Book on Demand GmbH.

บางครั้งดาบ “อิจิโกะฮิโตะฟุริ” ก็ถูกเข้าใจผิดมีรายชื่อเป็นหนึ่งในห้าดาบใต้หล้า ซึ่งอันที่จริงเล่มที่ถูกคือโอนิมารุคุนิสึนะ* อิจิโกะฮิโตะฟุริเป็นฝีมือตีของช่างอะวะตะกุจิ โยชิมิทสึ และเจ้าของดั้งเดิมก็คือตระกูลอาซาคุระแห่งจังหวัดเอจิเซ็น เมื่อตระกูลอาซาคุระถูกทำลายลงในระหว่างที่โนบุนากะขึ้นสู่อำนาจในปีเทนโชที่หนึ่ง (1573) ดาบถูกส่งไปที่ตระกูลโมริและต่อมาถูกมอบให้กับโทโยโทมิ ฮิเดโยชิโดยโมริ เทรุโมโตะ (1553-1625) เนื่องจากฮิเดโยชิค่อนข้างมีรูปร่างเตี้ย จึงได้สั่งให้ลดความยาวของตัวดาบจาก ~85.7 cm เหลือเพียง ~68.8 cm โดยให้ลายเซ็นเดิมยังคงอยู่บนตัวโคนใหม่ของดาบเรียกว่า กาคุเม (ดังรูป) ส่วนชื่อเล่น “อิจิโกะฮิโตะฟุริ” ที่เรียกกันได้มาจากฮิเดโยชิ โดยมีทฤษฎีที่มาสองแขนง เรื่องแรกกล่าวว่าฮิเดโยชิไม่เคยมีโอกาสได้ใช้ดาบเล่มนี้จึงเรียกดาบนี้ว่า อิจิโกะฮิโตะฟุริ (อิจิโกะ – ในชั่วชีวิตหนึ่ง ฮิโตะฟุริ – หวดดาบครั้งหนึ่ง) อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่าชื่อมาจากที่ดาบเป็นทาจิเพียงเล่มเดียวที่อะวะตะกุจิ โยชิมิทสึผู้โด่งดังในเรื่องการตีมีดสั้นตีขึ้น คำว่า “ฟุริ” เป็นหน่วยนับเล่มดาบของญี่ปุ่น จึงแปลว่า “ดาบเล่มเดียวของชั่วชีวิต”

FullSizeRender

หลังจากฮิเดโยชิตาย ดาบยังอยู่ที่ตระกูลโทโยโทมิ จนกระทั่งได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้ตอนที่ปราสาทโอซาก้าถูกทำลาย (1615) เจ้าของใหม่ อิเอยาสึ สั่งให้ช่างยาสึทสีคุหลอมดาบขึ้นมาใหม่ ซึ่งทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม หลังจากนั้นดาบก็อยู่ในความดูแลของตระกูลโมริ ตระกูลสาขาของโทคุกาวะ จนกระทั่งโทคุกาวะ โมจินางะมอบดาบให้กับจักรพรรดิโคเมย์ (1831-1866 ครองราชย์ 1846-1866) ในปีบุนคิวที่สาม (1863) และเป็นสมบัติจักรพรรดิมาจนถึงปัจจุบัน

*โอนิมารุคุนิสึนะและอิจิโกะฮิโตะฟุริเป็นดาบสายอะวะตะกุจิและเป็นสมบัติในคลังจักรพรรดิทั้งคู่ จึงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเข้าใจผิด

Part 2: แปลจาก http://yue-ciel.tumblr.com/post/132671763376/the-splendor-of-momoyama

“เสื้อผ้าของผมดูฉูดฉาดไม่เหมาะกับนิสัย…? ฮ่าฮ่าฮ่า! อาจจะเป็นเพราะอิทธิพลจากนายเก่าก็เป็นได้ครับ”

นายที่มีชื่อเสียงที่สุดของอิจิโกะ ฮิโตะฟุริคือโทโยโทมิ ฮิเดโยชิซึ่งเป็นบุรุษคนที่สองที่รวมแผ่นดินญี่ปุ่นเอาไว้ได้ในระหว่างยุคโมโมยามะ (1573-1600) เครื่องทรงของดาบเป็นลักษณะเฉพาะของยุคนี้เนื่องจากการประดับตกแต่งอย่างวิลิศมาหรา ปลอกดาบทาสีแดงสดเคลือบอณูทองคำชั้นดีจนทั่ว ตบแต่งสุดท้ายด้วยงานประดับทอง ความงามแบบใหม่อันหรูหราฟู่ฟ่านี้ฉีกออกจากสีสันอันเคร่งขรึมจองยุคมุโรมาจิอันเป็นยุคก่อนหน้า ด้วยได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในญี่ปุ่นอันเกิดจากการติดต่อกับโลกตะวันตกและสงครามภายในที่สับเปลี่ยนอำนาจของชนชั้นเก่าในสังคม

การค้าทางทะเลกับยุโรปเดินสะพัดในช่วงยุคโมโมยามะและจุดประกายความสงสัยใคร่รู้ในศาสตร์แห่งความงามของความสนใจแบบใหม่นี้ การแสดงภาพลักษณ์ของชาวยุโรปและของสะสมทางศิลปะเป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวญี่ปุ่น ชนชั้นวาณิชเฟื่องฟูขึ้นจากความมั่งคั่งที่ได้ค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่อยู่แถบท่าเรือชายทะเล ในระหว่างที่เหล่าไดเมียวช่วงชิงอำนาจจากรัฐบาลกลาง เหล่าชนชั้นอำนาจใหม่แสดงฐานันดรของตนโดยใช้ทองคำและสีสันฉูดฉาดในการตกแต่งดาบและปราสาท และได้กลายมาเป็นวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของยุคโมโมยามะ ดีไซน์ของอิจิโกะสะท้อนถึงเตาหลวมรวมของวัฒนธรรม

อิจิโกะในยุคโมดมยามะเป็นเท็งกะฮิโตะฟุริเพียงหนึ่งเดียว ทว่าเขากลับเสียสมญานั้นและความทรงจำของตัวเองหลังจากถูกเผาในศึกปิดล้อมโอซาก้า หลังจากถูกตีขึ้นใหม่ อิจิโกะมีฮามอนแบบตรง ทว่าอิจิโกะเล่มดั้งเดิมจะมีฮามอนแบบมิดาเระ (ดูได้จากมิดาเระ โทชิโร่) บางทีอิจิโกะอาจกลายมาเป็นคนอ่อนน้อมเมื่อกาลเวลาผันผ่านไป ทว่าก็เป็นที่น่าสนใจที่จะจินตนาการว่าอิจิโกะเป็นเช่นไรในช่วงที่เขาอยู่ในฐานะหรูหราฟู่ฟ่าที่สุดในยุคปกครองของฮิเดโยชิในสมัยโมโมยามะ ในฐานะความภาคภูมิใจของโยชิมิทสึ

One thought on “[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Ichigo Hitofuri

Leave a comment