[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Taroutachi [แปลโดย taiki_taiki]

ทาโร่ทะจิ
ชื่อที่สลักอยู่บนตัวดาบ สุเอะ โนะ อาโอเอะ

ณ แคว้นเอจิเซ็น มีข้ารับใช้แห่งตระกูลอาซาคุระซึ่งปกครองแคว้นคนหนึ่ง ซึ่งนามของเขาเป็นที่รู้จักโดยทั่วกันในฐานะของนักรบผู้กล้าแกร่ง เขาคือ มาคาระ นาโอทะกะ นักรบผู้ใช้โอดาจิซึ่งต่อสู้และพลีชีพในยุทธการอาเนะกาวะ ช่วงปีเก็งคิ (ราวๆ ค.ศ. 1570) โอดาจิที่เขาใช้ซึ่งถูกเรียกว่า มาคาระทะจิ นั้น มีตำนานเล่าเรื่องเกี่ยวกับความยาวของมันเอาไว้มากมาย หนึ่งในนั้นคือ ราคุโกะ (การขับเสภาตำนานเรื่องเล่าให้ตลกขบขันในสมัยเอโดะ) องค์หนึ่งในชื่อตอน “อุคิโยะโดะโคะ” ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่พ่อค้าและช่างฝีมือ
“หนึ่งชาคุ สองเต็น (ประมาณ 36 cm) นี่มันมีดสั้นชัดๆ”
“นั่นมันความกว้าง”
“แบบนั้นก็มองข้างหน้าไม่เห็นน่ะสิ”
“งั้นก็เจาะรูตรงใบดาบซะสิ เอาไว้ส่องแล้วค่อยฟันฉับ……”

นอกจากนี้ยังมีการบันทึกลงในบันทึกทางประวัติศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งก็คือ “บันทึกของโนบุนากะ” โดยบันทึกถึงเรื่องราวในยุทธการอาเนะกาวะเอาไว้ว่า ตัวดาบมีความยาวถึง ห้าชาคุ สามเต็น (ประมาณ 160 cm) ในบันทึกของอาซาคุระชิมัตสึซึ่งเสร็จสิ้นการบันทึกในช่วงต้นยุคเอโดะ ได้กล่าวถึงเอาไว้ว่า ทาโร่ทะจิถูกนำมารำดาบแสดงต่อหน้าโชกุนอะชิคะงะ โยชิอากิ ซึ่งตัวดาบมีความยาวถึง เก้าชาคุ ห้าเต็น (ประมาณ 288 cm)
แม้ จะถูกมองว่าเป็นเรื่องเกินจริงไปบ้าง ทว่า ทาโร่ทะจิ ซึ่งเป็นดาบโอดาจิที่ว่ากันว่าเป็นดาบของมาคาระ นาโอทากะ นั้น ปัจจุบันนี้ถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศาลเจ้าอาสุตะ กล่าวกันว่า ทาโร่ทะจิที่นำมาถวายศาลเจ้าในปีเทนโชที่4 (ราวๆ ค.ศ. 1576) แค่ใบดาบก็มีความยาวถึง 221.5 cm แล้ว จึงให้ความรู้สึกว่ามีขนาดใหญ่มาก ตัวมาคาระเองก็มีส่วนสูงถึง เจ็ดชาคุ (ประมาณ 210 cm) แค่ศํตรูได้พบเห็นก็อกสั่นขวัญแขวนด้วยความหวาดกลัวแล้ว มีตำนานเล่าไว้ว่าในการปรามปรามกลุ่มกบฏ อิกโก-อิกกิ นั้น กลุ่มนักรบร่างยักษ์ที่มีตัวนาโอทากะ บุตรชาย และผู้ติดตาม รวมกันเพียงสามคน สามารถโค่นศัตรูได้ถึง 80 คน

แม้จะถูกครหาว่า ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวมาคาระนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับความใหญ่ และการนำไปใช้จริงในสงครามเลยก็ตาม ทว่า ทาโร่ทะจิ เป็นดาบที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับใช้งานได้จริง ด้วยความที่ไม่มีการประดับตกแต่งดาบอย่างหรูหรา อีกทั้งความหนาของตัวดาบยังพอเหมาะ ทั้งยังมีร่องข้างใบดาบที่เรียกว่า “โทอิ” ซึ่งเป็นการตีดาบในลักษณะที่ทำให้ดาบมีน้ำหนักเบาลงแต่จะเพิ่มความแข็งแรง ของตัวดาบแทน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ดาบมีน้ำหนักรวมเพียง 4.5 กิโลกรัม ซึ่งเบากว่าที่เห็นภายนอกมากนัก และทาโร่ทะจิเล่มนี้เองที่ถูกเล่าขานกันว่าถูกนาโอทากะนำมาใช้แกว่งไกวในการ รบใน “ยุทธการอาเนะกาวะ” และโค่นล้มศัตรูอย่างห้าวหาญ และก็ทำให้กองทัพได้เปรียบด้วยอาวุธที่มีพลังทำลายสูงเช่นอาบเล่มนี้เอง

ข้อมูลอื่นๆ
– กล่าวกันว่า แท้จริงแล้วนาม “สุเอะ โนะ อาโอเอะ” คือชื่อที่แท้จริงของดาบ
– ทาโร่ทะจิ และจิโร่ทะจิ เป็นผลงานของนายช่าง จิโยทสึรุ คุนิยาสุ ซึ่งสร้างผลงานในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นแตกออกเป็นราชวงศ์เหนือ-ใต้ โดยทาโร่ (บุตรชายคนโต) ถูกตีขึ้นก่อน และ จิโร่ (บุตรชายคนที่สอง) ถูกตีขึ้นตามมาด้วยระยะปีที่ไม่ห่างกันมากนัก
– บางกระแสก็สันนิษฐานว่าทาโร่ทะจิ (หรือสุเอะ โนะ อาโอเอะ)ที่อยู่ที่ศาลเจ้าอาสุตะเป็นผลงานของนายช่าง อาโอเอะ ซึ่งเป็นช่างสาย โอคายามะ และไม่เกี่ยวข้องกับจิโยทสึรุ
– อย่างไรก็ตาม ช่างทั้งสองต่างเป็นช่างที่มีผลงานในยุคมุโรมาจิทั้งคู่
– นักประวัติศาสตร์บางรายสันนิษฐานว่า “คิโยมิทสึ” (ยาว 186.5 cm) ซึ่งเป็นสมบัติของศาลเจ้าชิรายามะฮิเมะ (จังหวัดอิชิคาวะ) ต่างหาก คือทาโร่ทะจิตามตำนานของ มาคาระ นาโอทากะ
– เส้นทางการส่งต่อทาโร่ทะจิก่อนจะถูกนำมาถวายแก่ศาลเจ้าอาสุตะมีดังนี้
มาคาระ นาโอทากะ (มาคาระ จูโรซาเอมอน) >> โอดะ >> ………. >> โทคุกาวะ >> ศาลเจ้าอาสุตะ

อ้างอิง
物語で読む日本刀の刀剣150 (หนังสือ)
http://ameblo.jp/heavenryofukuto/entry-11494790130.html
http://togetter.com/li/800750
http://ja.wikipedia.org/wiki/%E7%9C%9F%E6%9F%84%E7%9B%B4%E9%9A%86
http://blog.sina.com.cn/s/blog_4af2f6a30102vb9w.html
http://matome.naver.jp/odai/2142236398016733901/2142259083225010803

Leave a comment