[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Horikawa Kunihiro

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/124691152298/horikawa-kunihiro

“ผม? ผมคือโฮริคาวะ คุนิฮิโระ ผมร่วมกับอิซึมิโนะ คามิคาเนะซาดะ รับใช้ฮิจิคาตะ โทชิโซ โดยผมเป็นวาคิซาชิ ที่ว่าผมเป็นคุนิฮิโระของแท้รึเปล่ายังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ แต่อย่างน้อย ผมก็เป็นคู่หูของคาเนะซัง…ผมหมายถึง คู่หูของคาเนะซาดะอย่างไร้ข้อกังขาครับ”

โฮริคาวะ คุนิฮิโระได้ชื่อมาจากช่างตีซึ่งตีเขาขึ้นมาในช่วงปี 1531-1631

โฮริคาวะเป็นของฮิจิคาตะ โทชิโซ รองหัวหน้าของกลุ่มชินเซ็น นักดาบที่มีความสามารถและหัวหน้าฝ่ายการทหารท่ีต่อต้านการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ

ฮิจิคาตะเสียชีวิตในการปะทะกันครั้งสุดท้ายของการปฏิวัติในวันที่ 20 มิถุนายน 1869 เขาถูกสังหารในการต่อสู้บนหลังม้าโดยกระสุนที่ทำให้หลังส่วนล่างของเขาแตกละเอียด ในจำนวนของที่ถูกมอบให้กับบริวารของเขา อิจิมุระ เท็ตสึโนะสึเกะในเวลาสั้นๆก่อนเขาจะตายมีบทกวีลาตาย* รูปภาพของเขา เส้นผมสองสามเส้น ดาบสอวเล่ม และจดหมายส่งหาซาโต้ ฮิโกะโกโร่ (พี่เขยของฮิจิคาตะ)

ดาบที่ฮิจิคาตะเหลือเอาไว้คือโฮริคาวะ คุนิฮิโระและอิซึมิโนะคามิ คาเนะซาดะ ตามที่โฮริคาวะได้อ้างว่าตนเป็นคู่หูของ ”คาเนะซัง” ในยามที่รับใช้ฮิจิคาตะ

ตอนแนะนำตัวเขากล่าวว่าตนยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่เาป็นดาบคุนิฮิโระของแท้หรือเปล่า เพราะความยาวของเขาวัดได้ประมาณ 59 cm ทว่า ว่ากันว่าคุนิฮิโระไม่เคยทำดาบที่ยาวน้อยกว่า 60 cm นอกจากนี้ข้อที่ว่าเขาเป็นดาบที่ผิดไปจากดาบทั่วไปในสมัยบาคุมัทสึ (幕末 ช่วงปลายยุคโชกุนโทคุกาวะ หรือ “จุดจบของยุคโชกุน” เป็นช่วงปีท้ายๆของสมัยเอโดะ) ทำให้มีคนกล่าวว่าดาบนี้เป็นของปลอม

เพราะคำสั่งห้ามพกอาวุธที่ถูกใช้ในสมัยหลังสงครามโลกคร้ังที่ 2 ดาบหลายเล่ม รวมทั้งโฮริคาวะ คุนิฮิโระได้ถูกยึดไป ดาบจำนวนมากในดาบที่ถูกยึดไปนี้ (ประมาณ 200,000 เล่ม) ถูกทิ้งลงในทะเล มีดาบเพียงประมาณ 5,600 เล่มที่รัญบาลญี่ปุ่นได้ทำการกู้คืนมาได้และส่งคืนให้กับเจ้าของ หากแต่เพราะเจ้าของของโฮริคาวะได้ตายไปแล้ว จึงไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับดาบ

โฮริคาวะ คุนิฮิโระชอบการทำงานและช่วยผู้อื่น เขาเป็นคู่หูของอิซึมิโนะคามิ คาเนะซาดะและยังตั้งตัวเองเป็นผู้ช่วยของอิซึมิอีกด้วย จะบอกว่าเขาเหมือนภรรยาก็ย่อมได้ (จากทวิตออฟฟิศเชียล)

โฮริคาวะนับถืออิซึมิโนะคามิเป็นอย่างมาก และพยายามจะเลียนแบบและทำให้เขาประทับใจ เห็นได้จากประโยค “เพราะผมเป็นคู่หูของคาเนะซัง ผมเลยเป็นผู้ช่วยด้วย” “คาเนะซัง ผมทำได้แล้ว!” “ถ้าอยากให้ช่วยละก็บอกผมได้เลยนะ!” “ตกลง ผมจะเป็นผู้ช่วยฝ่ายพลาธิการที่ไร้ที่ติเลย”

*บทกวีลาตายของฮิจิคาตะที่มอบให้อิจิมุระ เท็ตสึโนะสึเกะเขียนว่า “แม้ร่างข้าอาจทับถมลงบนเกาะเอะโสะ แต่ดวงจิตข้าจะปกป้องผู้เป็นนายเหนือหัว ณ เบื้องบูรพาทิศ”

ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าฮิจิคาตะถูกฝังเอาไว้ที่ใด แต่อนุสาวรีย์ของเขาอยู่ใกล้กับสถานีอิตะบาชิในกรุงโตเกียว (เนื่องจากเขาเกิดวันที่ 31 พ.ค. 1835 ในเขตฮิโนะในปัจจุบัน ชานเมืองกรุงโตเกียว) คำว่า “นายเหนือหัว ณ เบื้องบูรพาทิศ” อาจหมายถึงคอนโด อิซามิ หัวหน้าของกลุ่มชินเซ็น

Leave a comment