[แปล] Touken Ranbu – ประวัติดาบ: Nihongou

แปลจาก: http://tourandanshi.tumblr.com/post/142175162488/nihongou

日本号

天下三名槍が一本にして、日の本一の呼び声も高い、日本号だ。 槍でありながら、正三位の位持ちって聞けば、オレの凄さもわかるだろ? ……ただなあ。世間じゃどうにも、酒の席で羽目外したせいでぶんどられた槍ってことで有名なんだよなあ……

ข้าคือหนึ่งในสามสุดยอดหอกใต้หล้า ทั้งยังพ่วงกิตติศัพท์ว่าเป็นเลิศที่สุดของญี่ปุ่น นิฮงโก ถ้าข้าบอกว่า แม้ข้าจะเป็นหอก แต่ก็มีตำแหน่งอาวุโสเป็นขุนนางระดับสาม เจ้าจะเข้าใจความยิ่งใหญ่ของข้าไหมนะ …แต่ก็…ข้าก็เป็นที่รู้จักในฐานะหอกที่ถูกเอาไปจากเจ้าของ เพราะนายมัวแต่ดื่มเพลินจนเมาหัวราน้ำด้วยน่ะนะ

นิฮงโกถูกตีขึ้นโดยคานาโบ มาซาสึกุ (金房政次) ในนยุคมุโรมาจิ (1336-1573) ความยาวใบดาบปัจจุบันคือ 79.2 cm จากความยาวทั้งหมด 321.5 cm

นิฮงโกเป็นหนึ่งในสามสุดยอดหอกใต้หล้าแห่งญี่ปุ่น แต่ละเล่มเป็นหอกที่ถูกสร้างขึ้นโดยนายช่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ เช่นเดียวกับ ทมโบะกิริ (蜻蛉切) และ โอเทะกิเนะ (金房政次) เมื่อรวมกับอีกสองเล่มในสามหอกใต้หล้าแล้ว จึงเกิดเป็นภาษิตหนึ่งที่ว่า “คุโรดะมีนิฮงโกอยู่ประจิมทิศ บูรพาสถิตมัทสึไดระครองโอเทะกิเนะในถิ่นฐาน”

เดิมนิฮงโกหรือนิปปงโกถูกใช้ในวังหลวงและเป็นสมบัติหลวง จักรพรรดิโอกิมาจิได้มอบนิฮงโกให้กับอะชิคางะ โยชิอากิซึ่งได้กลายเป็นโชกุนคนใหม่ในปี 1568 หลังจากนั้นหอกได้ตกถึงมือของโนบุนากะ และโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ และสุดท้ายได้ถูกมอบให้กับฟุคุชิมะ มาซาโนระ (ผู้ติดตามโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ เขาได้ร่วมต่อสู้ในศึกชิซึงาทาเกะ ปี 1583 และต่อมาได้เป็นที่รู้จักในนามหนึ่งในเจ็ดคมหอกแห่งชิซึงาทาเกะ*) จากผลงานในศึกโจมตีปราสาทนิรายามะ (ศึกปิดล้อมโอดะวะระ)

ชื่อนิฮงโกหรือนิปปงโกมีความหมายว่า “กำเนิดตะวัน” ดังนั้นนิฮงโกหรือนิปปงโกจึงหมายถึงพระอาทิตย์ขึ้น (เป็นคันจิที่คล้ายกับคำว่าภาษาญี่ปุ่น นิฮงแปลว่าญี่ปุ่น และโกะแปลว่าภาษา) ว่ากันว่าเขาได้ชื่อนี้มาตอนที่ฮิเดโยชิเป็นเจ้าของ

มีทฤษฎีกล่าวว่าความจริงแล้วเขาเป็นทาจิที่ใช้ทะลวงแทงได้ดี จึงได้ถูกนำไปติดกับหัวหอก เขาได้ตกมาเป็นสมบัติของตระกูลคุโรดะเมื่อฟุคุชิมะแข่งดื่มสุรากับโมริ ทาเฮย์ หัวหน้าบริพารของตระกูล โดยมีนิฮงโกเป็นเดิมพัน ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นนิฮงโกถูกวาดเป็นคู่หูขี้เมาร่ำสุรากับจิโร่ทาจิในแฟนอาร์ตของทั้งคู่อยู่บ่อยๆ

หลังจากนั้น นิฮงโกได้ถูกมอบให้กับเจ้าของที่ดินศักดินา และหลังจากเขาสิ้นบุญ ก็ได้ถูกมอบให้กับภริยาของเขาผ่านพินัยกรรม ซึ่งภริยาผู้นี้ได้มอบมันให้กับพิพิธภัณฑ์เมืองฟุคุโอกะ ที่ซึ่งได้เก็บรักษาและจัดแสดงนิฮงโกอยู่จนถึงทุกวันนี้

แฟนเวิร์คบางส่วนได้แสดงภาพนิฮงโกร่วมกับเฮชิคิริ ฮาเซเบะและฮากาตะ โทชิโร่ เนื่องด้วยเฮชิคิริ ฮาเซเบะได้ถูกมอบให้กับโยชิทากะ คุโรดะหรือไม่ก็บุตรของเขาคือ นากะมาสะ คุโรดะ เนื่องจากฟุคุชิมะ คุโรดะได้นิฮงโกไปหลังจากชนะพนัน นิฮงโก ฮาเซเบะและฮากาตะจึงเป็นที่รู้จักในชื่อ คุโรดะกุมิ

หอกญี่ปุ่นมีปลอกที่มีลักษณะขนปุย ดังนั้นความจริงแล้วหอกที่มีขนปุยที่นิฮงโกถือในรูปวาด แท้จริงเป็นหอกที่ถูกสวมปลอกเอาไว้**

*เจ็ดหัวหอกแห่งชิซึงาทาเกะ (賤ヶ岳の七本槍) คือองรักษ์บนหลังม้าของฮิเดโยชิในศึกชิซึงาทาเกะปี 1583 ในช่วงเวลาตัดสินของการรบ ฮิเดโยชิสั่งให้เจ็ดหัวหอกเคลื่อนพลพุ่งทะลวงกองทัพฝ่ายตรงข้ามคือคัทสึอิเอะ ชิบาตะ หลังจากฮิเดโยชิได้อำนาจครองญี่ปุ่น สมาชิกของกลุ่มนี้หลายคนได้ถูกเลื่อนตำแหน่งเป็นไดเมียว

เจ็ดหัวหอกแห่งชิซึงาทาเกะได้แก่ ฟุคุชิมะ มาซาโนริ (1561-1624) ฮิราโนะ นากายาสึ (1559-1628) คาสึยะ ทาเคโนริ (1562-1607) คาทากิริ คัทสึโมโตะ (1556-1615) คาโต้ คิโยมาสะ (1562-1611) คาโต้ ยาโชิอากิ (1563-1631) และวาคิซากะ ยาสึฮารุ (1554-1626)

ฟุคุชิมะ มาซาโนริ คาโต้ คิโยมาสะ และคาโตะ โยชิอากิได้รับผลตอบแทนอย่างงามจากฮิเดโยชิ นั่นคือ พื้นที่ 240,000 โคคุในจังหวัดโอดะวะระ พื้นที่ 195,000 โคคุกในจังหวัดฮิโกะและ 100,000 โคคุในจังหวัดอิโยะ ตามลำดับ สมาชิกที่เหลือยังคงเป็นบริพารลำดับหลักพันหลักหมื่นโคคุ ในสงครามเซคิงาฮาระและศึกปิดล้อมโอซาก้า พวกเขาหักหลังโทโยโทมิ ฮิเดโยริ บุตรชายของฮิเดโยชิ ไปเข้ากับฝ่ายโทคุกาวะ อิเอยาสึ หลังจากการสถาปนาโชกุนโทคุกาวะ พวกเขาและผู้สืบทอดถูกเนรเทศจากดินแดนของตัว ยกเว้นฮิราโนะ

tumblr_nught6haFh1r7k0jco1_1280.jpg

^ ส่วนนี้แท้จริงแล้วเป็นแค่ปลอก

Leave a comment